

ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
- การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร
1.1 แนะนำให้ผู้ป่วยหาข้อมูลทางอินเตอร์เนต หรือแอปพลิเคชั่น เช่น จาก
http://air4thai.pcd.go.th/webv2/index.php หรือทางอื่น หากพบว่ามีมลพิษทางอากาศของก๊ซโอโซน หรือมลพิษชนิดฝุ่น PM2.5 ปริมาณสูงเกณฑ์ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกไปภายนอก
1.2 หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือการออกกำลังกาย เมื่อมีปริมาณมลพิษทางอากาศเกินปริมาณอันตรายตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2 อาจพิจารณาการออกกำลังกายภายในอาคารแทน
1.3 หากจำเป็นต้องออกภายนอกอาคาร ควรใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีสวมใส่หน้ากาก N95 อย่างถูกต้องร่วมด้วย - การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายในอาคาร
2.1 ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร มีข้อมูลว่ามลพิษทางอากาศชนิดฝุ่น PM2.5 สามารถทะลุผ่านจากนอกอาคารเข้ามาในอาคารได้มากถึงร้อยละ 75 (21)
2.2 หลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามา
2.3 หากอาคารที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ไม่ได้มีระบบฟอกอากาศในอาคารขนาดใหญ่ (Whole-house filtration) ที่มี มาตรฐาน คือ ค่า Minimum efficiency reporting value (MERV) มากกว่า 11 ขึ้นไป (มีระดับทั้งหมด 1 ถึง 16) แนะนำให้ใช้เครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ได้ (portable air filter) โดยมีแผ่นกรองอากาศชนิด High Eficiency Particulate Air (HEPA) filter ซึ่งสามารถกรองฝุ่นชนิดที่มีขนาดน้อยกว่า 0.3 ไมครอน ได้ถึงร้อยละ 99.97 ควรใช้ เครื่องที่สามารถทำงานได้อย่างเพียงพอกับขนาดห้อง และไม่แนะนำเครื่องฟอกอากาศชนิดที่ให้กำเนิดก๊าซโอโซนโดยเฉพาะระบบแบบ Ionized เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาได้ (22)
2.4 ลดการกำเนิดฝุ่น PM2.5 จากในอาคาร เช่น กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ การประกอบอาหารโดยการเผาไหม้ เช่น เตาถ่าน การหุงต้มที่กำนิดควัน และการเผาไหม้สิ่งต่ำงๆ จากบ้านเรือน นอกจากจะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วย
2.5 หากตนเองประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการสูดดมฝุ่น PM2.5 เช่น ประกอบอาชีพแม่ค้าขายหมูปิ้ง หรือเป็นแม่ครัวที่ยังประกอบอาหารด้วยวิธีการเผาไหม้หรือกำเนิดควัน และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ควรใสหน้ากากป้องกัน และหาวิธีลดการเกิดมลพิษเช่น เปลี่ยนวิธีในการประกอบอาหารเพื่อลดการกำเนิดควันฝุ่น PM 2.5 ได้
ระดับนโยบาย
ปัจจัยสำคัญของการเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย และการเกิดภาวะโลกร้อน มาจากการเผาขยะ การเผาทางการเกษตรหรือการเผาไหม้ชีวมวล (Biomass burning) เช่น การเผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพดโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศรอบข้าง ฝุ่นจากการก่อสร้าง ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้น้ำมันเตา รวมถึงการผลิตฝุ่น PM2.5 ในเมืองต่อเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะรถหรือเครื่องยนต์ที่ไม่ได้มีการตรวจเช็คสม่ำเสมอ ทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จากข้อมูลวิเคราะห์สาเหตุการเกิดมลพิษ PM2.5 สาเหตุสูงสุดในกรุงเทพมหานคร 2 อันดับแรกคือการเผาไหม้ชีวมวล และการเผาไหม้จากเครื่องยนต์การจราจรควรมีนโยบายในการควบคุมหรือจัดการด้านต่งๆ เพื่อลดภาวะโลกร้อน และมลพิษทางอาการดังนี้
- การเผาทางการเกษตรหรือการเผาไหม้ซีวมวล (Biomass burning) หรือการเผาขยะ อาจสนับสนุนวิธีการอื่นแทนการเผา
ทางการเกษตร สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะแทนการเผา เช่น แยกขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรือนำขยะมาผลิต
พลังงานต่างๆ - การวางผังเมือง สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งระดับชุมชน เช่น สวนสาธารณะ และระดับองค์กรหรือครอบครัว เช่น
บริษัท ตลอดจนพื้นที่บ้าน ชุมชน - สนับสนุนการสร้างพลังงานจากธรมชาติ เช่น พลังงนจากลมหรือแสงอาทิตย์ แทนพลังงานจากการเผาไหม้
- รณรงค์ลดการใช้พลังที่เกินความจำเป็น เช่น การให้รางวัลในบ้านเรือน หรือโรงงานที่ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ รณรงค์ปรับ
เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เท่าที่จำเป็น - รณรงค์การใช้ของที่สามารถนำมาใช้ช้ำได้ (Recycle) โดยอาจให้รางวัลโดยการสนับสนุนการลดราคา สิ่งของเครื่องใช้ หาก
ประชาชนมีการนำสิ่งของมาใช้ซ้ำ (Recycle) - ด้านการคมนาคม ควรมีการตรวจมลพิษจากยานพาหนะสม่ำเสมอ หากพบการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จากเครื่องยนต์ดีเซลควร
ออกนโยบายควบคุมและแก้ไขเครื่องยนต์ของยานพาหนะนั้น รวมถึงสนับสนุนยาพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้ เช่น รถยนต์
พลังงานไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้รถโดยสารสาธารณะร่วมกัน - ด้านอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง เช่น ออกกฎหมายกำหนดบทลงโทษของโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่มีการควบคุมมลพิษ
จากการเผาไหม้ หรือมลพิษฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง
#climatechange #climatechangecrisis #pollition #Thaiasthmacouncil #TAC
นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี