ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะหืดกำเริบเฉียบพลัน (Medication in asthma exacerbation)
รศ.ดร.นพ. กัมพล กรธัชพงศ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
.
เป้าหมายหลักในรักษาภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันคือการฟื้นฟูการไหลของอากาศอย่างรวดเร็วและแก้ไขปัญหาการมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมากเกินไปหรือการขาดออกซิเจน โดยการรักษาภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันควรทำโดยเร็วและมีการประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง ยาที่ใช้ในการรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะหืดกำเริบ ซึ่งประกอบไปด้วย
.

  1. Oxygen
    ควรให้ออกซิเจนเสริมแก่ผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะขาดออกซิเจน โดยมีเป้าหมายให้ระดับ SpO2 สูงกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ในผู้ใหญ่ ด้วยการใช้ nasal cannula หรือ mask
  2. Bronchodilators
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเปิดทางเดินหายใจและบรรเทาอาการ แนะนำให้ใช้ Short-Acting Beta-2 Agonist (SABA) ร่วมกับ Short-Acting Muscarinic Antagonist (SAMA) พ่นฝอยละออง ทุก 20 นาที ติดต่อกันในชั่วโมงแรกของการรักษา
  3. Corticosteroids
    Systemic Corticosteroids ช่วยลดการอักเสบของทางเดินหายใจ สามารถบริหารยาทั้งในรูปแบบยากินหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดยาที่แนะนำ Prednisone ขนาด 1mg/kg/day, dexamethasone 4-6 mg q 6 hours, hydrocortisone 5 mg/kg/dose

    High-dose Inhaled corticosteroid พิจารณาใช้เป็นยาเสริมร่วมกับการรักษาหลัก กรณีผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรง เนื่องจากยาออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เร็ว1 ขนาดยาที่แนะนำ Budesonide 1 mg หรือ Fluticasone 1 mg พ่นฝอยละออง ทุก 20 นาที ติดต่อกันในชั่วโมงแรกของการรักษา
  4. MagnesiumSulfate
    ช่วยคลายกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจ แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรงแบบ life-threatening และผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในช่วงแรก โดยบริหารยาทางหลอดเลือดดำในขนาด Magnesium sulphate 2 g infuse in 30 นาที

    ระหว่างการรักษาผู้ป่วยควรได้รับการประเมินอาการและติดตามสัญญานชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษาและวางแผนการรักษาต่อไป
    .

Reference

  1. Song IH, Buttgereit F. Non-genomic glucocorticoid effects to provide the basis for new drug developments. Mol Cell Endocrinol. 2006 Feb 26;246(1-2):142-6.
  2. Wongsurakiat P, Rattanawongpaibul A, Limsukon A, et.al. Expert panel consensus recommendations on the utilization of nebulized budesonide for managing asthma and COPD in both stable and exacerbation stages in Thailand. J Asthma. 2024 Oct;61(10):1136-1151