
Omalizumab in Asthma
โดย รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน
อายุรแพทย์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตและอายุรศาสตร์การนอนหลับ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Omalizumab เป็น anti-immunoglobulin E (anti-IgE) ในโรคหืดที่มีการแพ้ (allergic asthma) ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ให้ใช้ในการรักษาโรคหืดรุนแรงในผู้ป่วยอายุ 6 ปีขึ้นไป
กลไกการออกฤทธิ์ของ omalizumab
Omalizumab เป็น anti-IgE monoclonal Antibody ที่ทำงานโดยจับกับ อิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE) ในกระแสเลือดและยับยั้งไม่ให้จับกับตัวรับบน mast cells และ basophils ทำให้ลดการกระตุ้นการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น histamine, leukotrienes และ cytokines ต่างๆ ส่งผลให้ลดการอักเสบของหลอดลม ลดอาการของโรคหืด และช่วยป้องกันการเกิดอาการกำเริบ
ข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยโรคหืดรุนแรง
ในผู้ป่วยอายุ 6 ปีขึ้นไป จะต้องประกอบไปด้วยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
ค่า total IgE ในเลือด อยู่ในช่วง 30-1500 IU/ml
โดยยา omalizumab ยังมีข้อบ่งชี้ในกรณีโรคริดสีดวงจมูก (chronic rhinosinusitis with nasal polyps (CRSwNP) รวมทั้ง โรคผื่นแพ้ผิวหนัง (chronic spontaneous (idiopathic) urticaria) (GINA 2024)
นอกจากนั้นมีข้อมูล Systematic Review&Mata-Analysis แสดงว่า omalizumab มีประสิทธิภาพในการรักษา allergic bronchopulmonary aspergillosis (ABPA) ที่ไม่ตอบสนองต่อ oral corticosteroids ได้ (Jin M. J Allergy Clin Immunol Pract. 2023;11(3):896-905)
ปัจจัยทำนายความสำเร็จ (GINA 2024)
อาการแสดงที่บ่งชี้ว่าโรคหืดกระตุ้นจากสารแพ้ (allergen-driven symptoms)
ประสิทธิภาพของ omalizumab ในการรักษาโรคหืด
มีการศึกษาทางคลินิกหลายฉบับที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ omalizumab ตัวอย่างเช่น
การศึกษา Cochrane Database Systematic Review พบว่า omalizumab เมื่อเทียบกับยาหลอก สามารถลดความจำเป็นในการใช้ยากลุ่ม oral corticosteroids ได้ รวมทั้งสามารถลดขนาดของยา inhaled corticosteroid ได้ (Normansell R. Cochrane Database Syst Rev. 2014 Jan 13;2014)
ขนาดและการบริหารยา
Omalizumab ให้ในรูปแบบการฉีดใต้ผิวหนัง (subcutaneous injection) ทุก 2-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับระดับ IgE และน้ำหนักตัวของผู้ป่วย โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 75-375 มก. ต่อครั้ง
ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของ omalizumab
Omalizumab ถือเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น
เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหาร (พบได้น้อย)