บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic cigarette; E-cigaratte)กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น โดยอุบัติการณ์การสูบบุรี่ไฟฟ้าในเยาวชน
ทั่วโลกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความหลากหลายของรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ กลิ่น รสซาติ กระตุ้นความอยากรู้ อยากลองอิทธิพลของเพื่อนและคนในครอบครัว ตลอดจนอิทธิพลของโฆษณา ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยสามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้ในที่ห้ามสูบบุหรี่ได้ รวมถึงความเชื่อที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนยาสูบชนิดดั้งเดิม ไม่เสพติดจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่า ประซากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,7 42 คน โดยร้อยละ 60 เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และยังพบการใช้ในกลุ่มอายุที่น้อยลงแม้กระทั่งในเด็กนักเรียน จากผลสำรวจภาวะสุขภาพนักรียนในไทย ปี 2564 โดยองค์การอนามัยโลก พบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้บุหรี่ไฟฟ้า 13.6%

บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดสารพิษหลายชนิดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น นิโคตินที่เป็นสารทำให้เสพติด โดยนิโคตินสังเคราะห์ที่ใช้ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ระคายคอทำให้เสพได้มากและดูดซึมได้เร็วกว่าบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีสารนิโคตินเท่าบุหรี่ซอง 20 มวน, สารอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compound; VOC), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide; CO),ฟอร์มาลีน, โลหะหนัก เชน นิกเกิล ตะกั่ว, สารแต่งกลิ่นและส ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจ (irritate mucus membranes) ทำให้เกิดการหลั่งสารอักเส (releas inflammatory markers, increasedtumor-necrosis factor, interleukin levels and oxidative stress) และมีการเปลี่ยนแปลงของ DNA ทำให้เป็นมะเร็งนอกจากนี้ยังพบว่าสมรรถภาพปอดเสื่อมถอย ปริมาตรปอดลดลง ในผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า

โรคทางระบบหายใจที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้ ได้แก่

1.โรคหืด ไม่ว่าจะเป็นการสูบโดยตรงหรือการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามือสอง (second hand smoking โดยพบว่าวัยรุ่นที่มีอาการหืดกำเริบจะมีประวัติสัมผัสกับไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการหืดกำเริบ 27% ผลการศึกษาจากงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเกาหลีใต้ ในกลุ่มนักเรียนมัธยมอายุ 15-16 ปี 483,948 ราย มีอัตราการสูบบุรี่ไฟฟ้าเฉลี่ย 7.5% พบว่าเด็กมัธยมที่สูบบุหรี่ไฟฟ้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหืดเป็น 1.3 เท่ เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้สูบบุรี่ไฟฟ้า และพบว่าการสูดควันบุหรี่ไฟฟ้า (สูบบุหรี่มือสอง) เสี่ยงต่อการเกิดหลอดลมอักเสบเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า และมีอาการหอบเหนื่อยเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า

2.โรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับบุหรี่ไฟฟ้ (e-cigarette, or vaping product use-associated lung injury; EVALI)
สัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาจากสารสกัดกัญชา tetrahydrocannabinol (THC) และ การปนเปื้อนสาร vitamin E
acetate ในน้ำยาหรือสารที่ใช้ผ่านบุหรี่ไฟฟ้านอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.8 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และมีประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง ไม่มีสมาธิ ความจำหรือการตัดสินใจแย่ลง โดยเฉพาะหากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าก่อนอายุ 14 ปี

บุหรี่ไฟฟ้าสามารถก่อให้เกิดมลพิษ PM2.5 อีกด้วยขณะที่กลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น แต่ยังขาดความระหนักเกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า และยังมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เช่น บุหรี่ไฟฟ้าเป็นวิธีที่สามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้ ทั้งยังมีช้อมูลว่าผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุยังน้อยมีแนวโน้มที่จะใช้สารเสพติดชนิดอื่น เช่น กัญชาการให้ความรู้แก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน มาตรการที่เข้มงวดในการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าและการโฆษณาชวนเชื่อ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นเรื่องเรงด่วน เพื่อปกป้องเยาวชนของชาติให้ห่างไกลจากสารเสพติด

รศ.พญ.หฤทัย กมลาภรณ์