ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป

  1. การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร
    1.1 แนะนำให้ผู้ป่วยหาข้อมูลทางอินเตอร์เนต หรือแอปพลิเคชั่น เช่น จาก
    http://air4thai.pcd.go.th/webv2/index.php หรือทางอื่น หากพบว่ามีมลพิษทางอากาศของก๊ซโอโซน หรือมลพิษชนิดฝุ่น PM2.5 ปริมาณสูงเกณฑ์ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกไปภายนอก
    1.2 หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือการออกกำลังกาย เมื่อมีปริมาณมลพิษทางอากาศเกินปริมาณอันตรายตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2 อาจพิจารณาการออกกำลังกายภายในอาคารแทน
    1.3 หากจำเป็นต้องออกภายนอกอาคาร ควรใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีสวมใส่หน้ากาก N95 อย่างถูกต้องร่วมด้วย
  2. การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายในอาคาร
    2.1 ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร มีข้อมูลว่ามลพิษทางอากาศชนิดฝุ่น PM2.5 สามารถทะลุผ่านจากนอกอาคารเข้ามาในอาคารได้มากถึงร้อยละ 75 (21)
    2.2 หลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามา
    2.3 หากอาคารที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ไม่ได้มีระบบฟอกอากาศในอาคารขนาดใหญ่ (Whole-house filtration) ที่มี มาตรฐาน คือ ค่า Minimum efficiency reporting value (MERV) มากกว่า 11 ขึ้นไป (มีระดับทั้งหมด 1 ถึง 16) แนะนำให้ใช้เครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ได้ (portable air filter) โดยมีแผ่นกรองอากาศชนิด High Eficiency Particulate Air (HEPA) filter ซึ่งสามารถกรองฝุ่นชนิดที่มีขนาดน้อยกว่า 0.3 ไมครอน ได้ถึงร้อยละ 99.97 ควรใช้ เครื่องที่สามารถทำงานได้อย่างเพียงพอกับขนาดห้อง และไม่แนะนำเครื่องฟอกอากาศชนิดที่ให้กำเนิดก๊าซโอโซนโดยเฉพาะระบบแบบ Ionized เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาได้ (22)
    2.4 ลดการกำเนิดฝุ่น PM2.5 จากในอาคาร เช่น กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ การประกอบอาหารโดยการเผาไหม้ เช่น เตาถ่าน การหุงต้มที่กำนิดควัน และการเผาไหม้สิ่งต่ำงๆ จากบ้านเรือน นอกจากจะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วย
    2.5 หากตนเองประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการสูดดมฝุ่น PM2.5 เช่น ประกอบอาชีพแม่ค้าขายหมูปิ้ง หรือเป็นแม่ครัวที่ยังประกอบอาหารด้วยวิธีการเผาไหม้หรือกำเนิดควัน และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ควรใสหน้ากากป้องกัน และหาวิธีลดการเกิดมลพิษเช่น เปลี่ยนวิธีในการประกอบอาหารเพื่อลดการกำเนิดควันฝุ่น PM 2.5 ได้

ระดับนโยบาย

ปัจจัยสำคัญของการเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย และการเกิดภาวะโลกร้อน มาจากการเผาขยะ การเผาทางการเกษตรหรือการเผาไหม้ชีวมวล (Biomass burning) เช่น การเผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพดโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศรอบข้าง ฝุ่นจากการก่อสร้าง ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้น้ำมันเตา รวมถึงการผลิตฝุ่น PM2.5 ในเมืองต่อเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะรถหรือเครื่องยนต์ที่ไม่ได้มีการตรวจเช็คสม่ำเสมอ ทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จากข้อมูลวิเคราะห์สาเหตุการเกิดมลพิษ PM2.5 สาเหตุสูงสุดในกรุงเทพมหานคร 2 อันดับแรกคือการเผาไหม้ชีวมวล และการเผาไหม้จากเครื่องยนต์การจราจรควรมีนโยบายในการควบคุมหรือจัดการด้านต่งๆ เพื่อลดภาวะโลกร้อน และมลพิษทางอาการดังนี้

  1. การเผาทางการเกษตรหรือการเผาไหม้ซีวมวล (Biomass burning) หรือการเผาขยะ อาจสนับสนุนวิธีการอื่นแทนการเผา
    ทางการเกษตร สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะแทนการเผา เช่น แยกขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรือนำขยะมาผลิต
    พลังงานต่างๆ
  2. การวางผังเมือง สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งระดับชุมชน เช่น สวนสาธารณะ และระดับองค์กรหรือครอบครัว เช่น
    บริษัท ตลอดจนพื้นที่บ้าน ชุมชน
  3. สนับสนุนการสร้างพลังงานจากธรมชาติ เช่น พลังงนจากลมหรือแสงอาทิตย์ แทนพลังงานจากการเผาไหม้
  4. รณรงค์ลดการใช้พลังที่เกินความจำเป็น เช่น การให้รางวัลในบ้านเรือน หรือโรงงานที่ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ รณรงค์ปรับ
    เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เท่าที่จำเป็น
  5. รณรงค์การใช้ของที่สามารถนำมาใช้ช้ำได้ (Recycle) โดยอาจให้รางวัลโดยการสนับสนุนการลดราคา สิ่งของเครื่องใช้ หาก
    ประชาชนมีการนำสิ่งของมาใช้ซ้ำ (Recycle)
  6. ด้านการคมนาคม ควรมีการตรวจมลพิษจากยานพาหนะสม่ำเสมอ หากพบการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จากเครื่องยนต์ดีเซลควร
    ออกนโยบายควบคุมและแก้ไขเครื่องยนต์ของยานพาหนะนั้น รวมถึงสนับสนุนยาพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้ เช่น รถยนต์
    พลังงานไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้รถโดยสารสาธารณะร่วมกัน
  7. ด้านอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง เช่น ออกกฎหมายกำหนดบทลงโทษของโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่มีการควบคุมมลพิษ
    จากการเผาไหม้ หรือมลพิษฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง

#climatechange #climatechangecrisis #pollition #Thaiasthmacouncil #TAC

นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี