ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดไตวายเรื้อรัง เป็นต้น เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังเพราะการป่วยเป็นโรคโควิดอาจมีความรุนแรงได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดซึ่งเป็นโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่งจึงอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคโควิด บทความนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยดังกล่าว

1.โรคหืดมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติหรือไม่

ผู้ป่วยโรคหืดที่คุมโรคได้ดี (well-controlled) ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการป่วยเป็นโควิดรุนแรงและไม่ทำให้เสียชีวิตจากโควิดเพิ่มขึ้นที่น่าสนใจคือในช่วงที่โควิดระบาดรุนแรงกลับพบผู้ป่วยโรคหืดกำเริบน้อยลง ซึ่งอาจเป็นเพราะประซากรสวนใหญ่ให้ความสำคัญในมาตรการต่างๆที่ชวยลดการแพร่เชื้อจึงทำให้การติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นโรคหืดกำเริบลดลงไปด้วย ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าการป่วยเป็นโควิดรุนแรงพบเฉพาะในผู้ป่วยโรคหืดที่คุมอาการได้ไม่ดีเท่านั้น ตัวอย่างผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่น ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้ยาสเตียรอยด์รูปแบบรับประทาน หรือผู้ป่วยที่มีประวัติหืดกำเริบรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล เป็นต้น

2.ยารักษาโรคหืดโดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นทำให้มีโอกาสติดเชื้อป่วยโควิดง่ายขึ้นหรือไม่

ยารักษาโรคหืดทุกชนิดรวมถึงยาหลักคือยาสเตียรยด์ชนิดสุดนไม่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโควิดง่ายขึ้นกว่าปกติแต่อย่างใด ในทางกลับกันมีข้อมูลว่ายาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นอาจมีประยซน์ในการรักษาโรคโควิดที่อาการไม่รุนแรงโดยอาจลดการนอนโรงพยาบาลหรือ การเสียชีวิตในภาพรวมได้ แต่หลักฐานดังกล่าวยังไม่ยืนยันชัดเจน

3.ผู้ป่วยโรคหืดที่ป่วยเป็นโรคโควิดมีวิธีการรักษาแตกต่างจากปกติหรือไม่

ไม่มีความแตกต่างในการรักษาที่มีอยู่แล้ว กรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าควรได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคโควิดเช่นในผู้ป่วยโรคหืดที่ คุมอาการได้ไม่ค่อยดีแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ยาดังกล่าวไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ยรักษาโรคหืได้ตามเดิมโดยไม่ส่งผลรบกวนต่อการรักษาโควิด

4.รูปแบบของยาสูดพนเพิ่มการแพร่เชื้อก่อโรค โควิดหรือไม่

โรคโควิดแพร่เชื้อผ่านทางละอองฝอยซึ่งผ่านมาทางลมหายใจของผู้ป่วยทั้งจากการ ไอ จาม ดังนั้นรูปแบบการพ่นยาแบบละอองฝอย (nebulizer) เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิดจึงควรเลี่ยงการใช้ยาพ่นรูปแบบดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคหืดชนิดสูดพ่นอยู่ไม่ควรแบ่งปันให้ผู้อื่นใช้ เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อต่อกันได้ไม่ว่าจะมีอาการของโรคโควิดอยู่หรือไม่ก็ตาม

5.ผู้ป่วยโรคหืดมีโอกาสแพ้วัคซีนป้องกันโควิดมากขึ้นกว่าปกติหรือไม่

ผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่มีประวัติแพ้สารใดๆมาก่อนสามารถรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้ป่วยโรคหืดที่มีประวัติแพ้สารที่เป็นสวนประกอบของวัคซีนมาก่อน จะต้องแจ้งให้กับแพทย์ทราบเพื่อเลือกชนิดของวัคซีนให้เหมาะสมเพราะส่วนประกอบของวัคซีนแต่ละชนิดอาจมีความแตกต่างกันโดยสรุปแล้วจึงแนะนำว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด ผู้ป่วยโรคหืดต้องใช้ยารักษาโรคหืดต่อไปอย่างสม่ำเสมอเช่น เดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อน และจะต้องคุมโรคหืดให้ได้ดี (well-controlled) เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อ การป่วยเป็นโควิดรุนแรงได้

ผศ.นพ.มนะพล กุลปราณีต