การรักษาด้วยวิธีวัคซีนภูมิแพ้ หรืออิมมูโนเทอราพี่ต่อสารกอภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก(Allergic Rhinitis) และโรคหืด(Asthma) แพ้ เป็นวิธีการรักษาที่มีมานานกว่า 1 10 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 และเป็นการรักษาเดียวที่ที่เปลี่ยนแปลงการดำเนินโรค เนื่องจากเป็นการรักษาที่ตันเหตุของรคที่ผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว โดยนิยามล่าสุดที่สมาคมโรคภูมิแพ้ยุโรปได้ให้ไว้คือ “การที่ให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำๆ ในชวงระยะความห่างที่เหมาะสม ที่ส่งผลให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพื่อลดอาการ ลดการใช้ยาและป้องกันการเกิดการแพ้ชนิดใหม่ๆ ในผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก และโรคหืด”

กลไกที่อธิบายการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการรักษามีดังนี้ (ตามรูปที่ 1 และ 2)

1) ส่งผลต่อเซลล์ mast cell และ Basophil ในการลดการหลั่งสารแพ้
2) ลดการทำงานของ FceRI ในการกระตุ้นการหลั่งสารแพ้
3) เพิ่มการสร้างของ Regulatory T cell , Regulatory B cell ในการหลั่งสาร Interleukin-10, TGF-beta ในการไปลดการทำงานของ T helper 2 , dendritic cell รวมถึงกระตุ้นให้มีการสร้าง Specific IgG4 และลดการสร้าง specific IgE
4) ปัจจุบันยังพบว่านอกจากมีการสร้าง Regula tory T และ B cell ยังมีการสร้าง Regulatory dendritic cell, NK cell,
Innate lymphoid cell ในการไปลดการทำงานกลุ่มการอักเสบชนิดที่ 2 (type 2)

ปัจจุบันวิธีการรักษานี้ไม่ใช่มีเฉพาะแบบฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แต่ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น วิธีการอมใต้ลิ้น วิธีการฉีดเข้าต่อน้ำเหลืองโดยตรง วิธีแปะใต้ชั้นผิวหนัง หรือทางการพ่นเข้าโพรงจมูก แต่ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจน และระบุในแนวเวชปฏิบัติต่างๆ ในผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบและโรคหอบหืดในปัจจุบันมีวิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และวิธีอมใต้ลิ้น โดยข้อดีของวิธีการอมใต้ลิ้นเหนือวิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนังคือ ผลข้างเคียงน้อยกว่าและสะดวกกว่าเพราะไม่ต้องมาฉีดที่โรงพยาบาล แต่ข้อเสีย
อาจพบว่าผู้ป่วยลืมอมบ่อยกว่าลืมมาฉีดรักษาที่โรงพยาบาลและยังมีปริมาณสารแพ้ที่ใช้รักษาได้จำกัดกว่าวิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

ประสิทธิภาพในการรักษาพบว่าในผู้ป่วยโรคหืดชนิด Al lergic Asthma สามารถลดอาการของผู้ป่วย และลดการใช้ยาลงได้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยยืดระยะเวลาในการเกิดการกำเริบของโรคหืดในผู้ป่วยที่ลดการใช้ยานสเตียรอยด์ออกไปได้ มีการเพิ่มสมรรถภาพปอดในส่วนของ FEF 25-7 5% และลดภาวะหลอดลมไว (Bronchial hyper-reactivity) ได้ รวมถึงสามารถป้องกันการเกิดโรคหืด (Asthma) ในผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก (Allergic Rhinitis) ที่รักษาด้วยวิธีอิมมูโนเทอราพี

ปัจจุบันมีแนวเวชปฏิบัติระดับโลก และระดับประเทศต่างๆมากมาย ที่ได้บรรจุการรักษาชนิดนี้เข้าไป เช่น GINA guideline ใน EAACI guideline รวมถึงแนวทางการวินิฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่ 2565 และแนะนำทำในผู้ป่วยโรคหืดชนิด Allergic Asthma ที่คุมอาการของโรคได้ก่อน โดย FEV 1 ควรมีค่าร้อยละ 70 ขึ้นไปก่อนรักษา ทั้งนี้ควรใช้ยาสูดพ่นตามแนวเวชปฏิบัติร่วมไปด้วยเสมอ

จากประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยจริงพบว่าผู้ป่วยสามารถคุมอาการได้ ไม่มีอาการกำเริบ สามารถลดยาสูดพ่นต่างๆ ลงได้และมีความประทับใจจากการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีอิมมูโนเทอราพี่มาก และหวังว่าการรักษานี้จะเป็นทางเลือกที่ดีให้กับผู้ป่วยโรคหืด Allergic Asthma ที่พวกเราช่วยกันดูแลครับ

นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิม