News

บุหรี่ไฟฟ้ากับผลกระทบต่อสุขภาพ

บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic cigarette; E-cigaratte)กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น โดยอุบัติการณ์การสูบบุรี่ไฟฟ้าในเยาวชนทั่วโลกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความหลากหลายของรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ กลิ่น รสซาติ กระตุ้นความอยากรู้ อยากลองอิทธิพลของเพื่อนและคนในครอบครัว ตลอดจนอิทธิพลของโฆษณา ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยสามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้ในที่ห้ามสูบบุหรี่ได้ รวมถึงความเชื่อที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนยาสูบชนิดดั้งเดิม ไม่เสพติดจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่า ประซากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,7 42 คน โดยร้อยละ 60 เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และยังพบการใช้ในกลุ่มอายุที่น้อยลงแม้กระทั่งในเด็กนักเรียน จากผลสำรวจภาวะสุขภาพนักรียนในไทย ปี 2564 โดยองค์การอนามัยโลก พบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้บุหรี่ไฟฟ้า 13.6% บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดสารพิษหลายชนิดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น นิโคตินที่เป็นสารทำให้เสพติด โดยนิโคตินสังเคราะห์ที่ใช้ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ระคายคอทำให้เสพได้มากและดูดซึมได้เร็วกว่าบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีสารนิโคตินเท่าบุหรี่ซอง 20 มวน, สารอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic...

ปฎิสัมพันธ์ของมลพิษทางอากาศและโรคติดเชื้อทางหายใจ

บทนำ (Introduction) มลพิษทางอากาศมีผลกระทบของต่อสุขภาพถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลกที่ได้รับความตระหนักในปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า มลพิษทางอกาศก็ให้เกิดผลกระทบอประชากรโลกในทุกด้าน โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ พบว่าผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชากรจากมลพิษทางอากาศในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกแตกต่างกันไปทั้งในแง่ลักษณะและความรุนแรง การติดเชื้อทางอากาศสงผลกระทบต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินหายใจที่พบมากขึ้น นอกจากนี้ผลกระทบในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มวัยก็มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กเล็กและผู้ป่วยสูงอายุ การติดเชื้อทางเดินหายใจพบได้มากในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอายุ ประชากรทั้งสองกลุ่มจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศทั้งรยะสั้นและระยะยาว สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเกิดจากไวรัสเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียพบได้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสียง เช่นโรคประจำตัว หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจเช่นผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง การพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง สรีรวิทยา ของทางเดินหายใจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจ บทความนี้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของมลพิษทางอากาศ ที่มาและชนิดทางอากาศ การจำแนกคุณภาพของอากาศ ฝุ่นมลพิษขนาดเล็ก หรือ particulate matter (PM) ทั้งขนาด 2.5 และ 10 ไมครอนผลกระทบของมลพิษต่อระบบการทำงานของร่างกาย ในประชากรทั้วไปรวมทั้งผู้ป่วยกลุ่เสี่ยง และผลของมลพิษทางอากาศต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจและผลกระทบต่ออายุขัยของประชากรโลกในภาพรวม บทความมลพิษทางอากาศต่อปัญหาสุขภาพและผลต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ㆍประวัติศาสตร์ของมลพิษทางอากาศㆍแหล่งกำเนิดและชนิดของมลพิษทางอากาศㆍฝุ่นมลพิษขนาดเล็ก particulate matter 2.5 และคุณภาพอากาศㆍ ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพㆍ ผลของมลพิษทางอากาศต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจ ประวัติศาสตร์ของมลพิษทางอากาศ (historical perspectives...

โรคหืดและโควิด

ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดไตวายเรื้อรัง เป็นต้น เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังเพราะการป่วยเป็นโรคโควิดอาจมีความรุนแรงได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดซึ่งเป็นโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่งจึงอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคโควิด บทความนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยดังกล่าว 1.โรคหืดมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติหรือไม่ ผู้ป่วยโรคหืดที่คุมโรคได้ดี (well-controlled) ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการป่วยเป็นโควิดรุนแรงและไม่ทำให้เสียชีวิตจากโควิดเพิ่มขึ้นที่น่าสนใจคือในช่วงที่โควิดระบาดรุนแรงกลับพบผู้ป่วยโรคหืดกำเริบน้อยลง ซึ่งอาจเป็นเพราะประซากรสวนใหญ่ให้ความสำคัญในมาตรการต่างๆที่ชวยลดการแพร่เชื้อจึงทำให้การติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นโรคหืดกำเริบลดลงไปด้วย ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าการป่วยเป็นโควิดรุนแรงพบเฉพาะในผู้ป่วยโรคหืดที่คุมอาการได้ไม่ดีเท่านั้น ตัวอย่างผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่น ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้ยาสเตียรอยด์รูปแบบรับประทาน หรือผู้ป่วยที่มีประวัติหืดกำเริบรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล เป็นต้น 2.ยารักษาโรคหืดโดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นทำให้มีโอกาสติดเชื้อป่วยโควิดง่ายขึ้นหรือไม่ ยารักษาโรคหืดทุกชนิดรวมถึงยาหลักคือยาสเตียรยด์ชนิดสุดนไม่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโควิดง่ายขึ้นกว่าปกติแต่อย่างใด ในทางกลับกันมีข้อมูลว่ายาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นอาจมีประยซน์ในการรักษาโรคโควิดที่อาการไม่รุนแรงโดยอาจลดการนอนโรงพยาบาลหรือ การเสียชีวิตในภาพรวมได้ แต่หลักฐานดังกล่าวยังไม่ยืนยันชัดเจน 3.ผู้ป่วยโรคหืดที่ป่วยเป็นโรคโควิดมีวิธีการรักษาแตกต่างจากปกติหรือไม่ ไม่มีความแตกต่างในการรักษาที่มีอยู่แล้ว กรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าควรได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคโควิดเช่นในผู้ป่วยโรคหืดที่ คุมอาการได้ไม่ค่อยดีแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ยาดังกล่าวไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ยรักษาโรคหืได้ตามเดิมโดยไม่ส่งผลรบกวนต่อการรักษาโควิด 4.รูปแบบของยาสูดพนเพิ่มการแพร่เชื้อก่อโรค โควิดหรือไม่ โรคโควิดแพร่เชื้อผ่านทางละอองฝอยซึ่งผ่านมาทางลมหายใจของผู้ป่วยทั้งจากการ ไอ จาม ดังนั้นรูปแบบการพ่นยาแบบละอองฝอย (nebulizer) เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิดจึงควรเลี่ยงการใช้ยาพ่นรูปแบบดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคหืดชนิดสูดพ่นอยู่ไม่ควรแบ่งปันให้ผู้อื่นใช้ เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อต่อกันได้ไม่ว่าจะมีอาการของโรคโควิดอยู่หรือไม่ก็ตาม 5.ผู้ป่วยโรคหืดมีโอกาสแพ้วัคซีนป้องกันโควิดมากขึ้นกว่าปกติหรือไม่ ผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่มีประวัติแพ้สารใดๆมาก่อนสามารถรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้ป่วยโรคหืดที่มีประวัติแพ้สารที่เป็นสวนประกอบของวัคซีนมาก่อน จะต้องแจ้งให้กับแพทย์ทราบเพื่อเลือกชนิดของวัคซีนให้เหมาะสมเพราะส่วนประกอบของวัคซีนแต่ละชนิดอาจมีความแตกต่างกันโดยสรุปแล้วจึงแนะนำว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด ผู้ป่วยโรคหืดต้องใช้ยารักษาโรคหืดต่อไปอย่างสม่ำเสมอเช่น เดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อน และจะต้องคุมโรคหืดให้ได้ดี (well-controlled) เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อ การป่วยเป็นโควิดรุนแรงได้...

Allergen Specific Immunotherapy in Allergic Asthma

การรักษาด้วยวิธีวัคซีนภูมิแพ้ หรืออิมมูโนเทอราพี่ต่อสารกอภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก(Allergic Rhinitis) และโรคหืด(Asthma) แพ้ เป็นวิธีการรักษาที่มีมานานกว่า 1 10 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 และเป็นการรักษาเดียวที่ที่เปลี่ยนแปลงการดำเนินโรค เนื่องจากเป็นการรักษาที่ตันเหตุของรคที่ผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว โดยนิยามล่าสุดที่สมาคมโรคภูมิแพ้ยุโรปได้ให้ไว้คือ "การที่ให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำๆ ในชวงระยะความห่างที่เหมาะสม ที่ส่งผลให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพื่อลดอาการ ลดการใช้ยาและป้องกันการเกิดการแพ้ชนิดใหม่ๆ ในผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก และโรคหืด" กลไกที่อธิบายการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการรักษามีดังนี้ (ตามรูปที่ 1 และ 2) 1) ส่งผลต่อเซลล์ mast cell และ Basophil ในการลดการหลั่งสารแพ้2) ลดการทำงานของ FceRI ในการกระตุ้นการหลั่งสารแพ้3) เพิ่มการสร้างของ Regulatory T cell , Regulatory B cell ในการหลั่งสาร Interleukin-10, TGF-beta ในการไปลดการทำงานของ T helper...

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหืด ในระดับประชาชนและนโยบาย

ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร1.1 แนะนำให้ผู้ป่วยหาข้อมูลทางอินเตอร์เนต หรือแอปพลิเคชั่น เช่น จากhttp://air4thai.pcd.go.th/webv2/index.php หรือทางอื่น หากพบว่ามีมลพิษทางอากาศของก๊ซโอโซน หรือมลพิษชนิดฝุ่น PM2.5 ปริมาณสูงเกณฑ์ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกไปภายนอก1.2 หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือการออกกำลังกาย เมื่อมีปริมาณมลพิษทางอากาศเกินปริมาณอันตรายตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2 อาจพิจารณาการออกกำลังกายภายในอาคารแทน1.3 หากจำเป็นต้องออกภายนอกอาคาร ควรใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีสวมใส่หน้ากาก N95 อย่างถูกต้องร่วมด้วย การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายในอาคาร2.1 ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร มีข้อมูลว่ามลพิษทางอากาศชนิดฝุ่น PM2.5 สามารถทะลุผ่านจากนอกอาคารเข้ามาในอาคารได้มากถึงร้อยละ 75 (21)2.2 หลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามา2.3 หากอาคารที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ไม่ได้มีระบบฟอกอากาศในอาคารขนาดใหญ่ (Whole-house filtration) ที่มี มาตรฐาน คือ ค่า...

แนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดในภาวะมลพิษและโลกร้อน

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ การรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น โรคหืต และโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ต่อเนื่องด้วยยา1.1 การใช้ยารักษาโรจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคหืด ควรใช้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเพื่อคุมอาการป้องกันโรคกำเริบ เช่น ยาสูดพ่นสเตียรอยด์ ยาพ่นจมูกสเตียรอยด์ โดยเฉพาะในช่วงที่มีมลพิษทางอากาศปริมาณสูง1.2 ในช่วงมลพิษทางอากาศปริมาณสูงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคหีดกำเริบได้ง่ย หากผู้ป่วยโรคหืดมีอาการกำเริบ พ่นยาชนิดฉุกเฉินแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล รวมถึงโรคจมูกอักสบจากภูมิแพ้อาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นโพรงไซนัสอักเสบติดเชื้อได้1.3 การรักษาป้องกันเสริมอื่น ๆ ด้วยยาหรือสารในอาหาร -ยาต้นการอักเสบ เช่น ยาสูดพ่นชนิดคอติโคเสตียรอยด์ลดการอักเสบของหลอดลมได้ ย1 Selective CXCR2 antagonistสามารถลดการอักเสบของหลอดลมชนิดนิวโทรฟิลได้(15) -สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอลฟ้าโตโคฟีรอล (c-tocopherol) และวิตามินซี มีหลักฐานว่าสามารถป้องกันการลดลงของสมรรถภาพปอดจากกำซโอโซนได้ สารซัลโฟราเฟน( Sulforafane) ที่พบในผักบร็อคโคลื่ มีข้อมูลว่าลดอาการอักเสบได้ และลดการผลิต IgE ได้(15) ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนเองแพ้อย่างจริงจัง เพราะมลพิษทางอากาศจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแฟที่มากยิ่งขึ้น แม้จะสูดดมสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณเท่าเดิม หากผู้ป่วยยังไม่ทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด สมารถตรจหาสารก่อภูมิแพ้ใต้ด้วยวิธี ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง(Skin prick test) หรือการเจาะเลือดส่งตรวจ specific...

PM2.5 ค่าเท่าไร ถึงจะถือว่าปลอดภัย

PM2.5 ค่าเท่าไร ถึงจะถือว่าปลอดภัย อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าเกณฑ์ระดับฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยนใน 1 วัน ไม่ควรเกิน 37 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรซึ่งแตกต่างจากเกณฑ์ของอเมริกาซึ่งกำหนดค่าฝุ่น PM2.5 ไว้ที่ไม่ควรเกิน 12 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรจึงเกิดคำถามว่าปอดของคนไทยเรากับปอดของประชากรโลกมีความทนทานต่อฝุ่นแตกต่างกันอย่างนั้นหรืองานวิจัยน่าสนใจชิ้นหนึ่งจากทีมวิจัยอาจารย์หฤทัยจาก รพ.รามาฯ ที่ได้น าเสนอในสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย (TAC) พบว่าการใช้เกณฑ์ PM2.5 ที่ 12 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรช่วยทำนายว่าผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหืดจะมีการกำเริบเฉียบพลันภายในช่วง 3 วัน ซึ่ง มีความไวกว่าเกณฑ์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันงานวิจัยนี้เป็นความรู้ที่ท าให้นักวิชาการหลายท่านเริ่มตื่นตัวและผลักดันให้มีมาตรการลดฝุ่น PM2.5 ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้นในอนาคต"เพราะปอดของเด็กไทยก็ไม่ต่างจากปอดของประชากรโลกที่ต้องรักษาเอาไว้ให้ดีครับ" ผศ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์

ภูมิแพ้กำเริบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง (CLIMATE CHANGE)

ภมูิแพ้กำเริบจำกอากาศที่ปลี่ยนแปลง (CLIMATE CHANGE) ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 + อากาศโลกแปรปรวน + มลพิษ PM2.5 ก็มาทุกท่านคงสังเกตอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการไอ-จามช่วงนี้ยิ่งท าให้ความเครียด ดังนั้นการคุมภูมิแพ้ให้อยู่หมัดและมีความรู้ความเข้าใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองจะช่วยได้ครับบทความนี้จึงเล่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทุกท่านเข้าใจ 1. ผลโดยตรง-อากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็วทำให้โรคหืดกำเริบ เพราะ ทางเดินหายใจมีความไวมากขึ้น- งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหืดมีการกำเริบและป่วยนอน รพ. สูงขึ้นหลังเกิดอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว2. ผลทางอ้อม- ภูมิอากาศเปลี่ยนทำให้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยแย่ลง เช่น มลพิษทางอากาศ เกสรหญ้าเพิ่มจำนวน สปอร์เชื้อราเพิ่มจำนวนความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ซึ่งผลกระทบนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค2.1 มลพิษทางอากาศ (Air pollution) - การที่อุณหภูมิความชื้นกระแสลมเปลี่ยนแปลงทำให้มลพิษเพิ่มขึ้นจากหลายสาเหตุ - Ground-level ozone เพิ่มขึ้น จาก photochemical smog - PM2.5 และก๊าซมลพิษเพิ่มขึ้นจากการที่มนุษย์อยู่ในบ้านนานขึ้น เปิดเครื่องปรับอากาศไฟป่าหรือพายุฝุ่นในบางพื้นที่ - การสัมผัสมลพิษระยะสั้น (PM2.5, Ozone) กระตุ้นอาการก าเริบของโรคภูมิแพ้จมูก...