ภูมิแพ้กำเริบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง (CLIMATE CHANGE)

บทความจาก ผศ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์

ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19  + อากาศโลกแปรปรวน + มลพิษ PM2.5 ก็มา

ทุกท่านคงสังเกตอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการไอ-จามช่วงนี้ยิ่งทำให้ความเครียด ดังนั้นการคุมภูมิแพ้ให้อยู่หมัดและมีความรู้ความเข้าใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองจะช่วยได้ครับ

บทความนี้จึงเล่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทุกท่านเข้าใจ

—————————

1. ผลโดยตรง

– อากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ทำให้โรคหืดกำเริบ เพราะ ทางเดินหายใจมีความไวมากขึ้น

– งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหืดมีการกำเริบและป่วยนอน รพ. สูงขึ้นหลังเกิดอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

—————————

2. ผลทางอ้อม

– ภูมิอากาศเปลี่ยนทำให้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยแย่ลง เช่น มลพิษทางอากาศ เกสรหญ้าเพิ่มจำนวน สปอร์เชื้อราเพิ่มจำนวน ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ซึ่งผลกระทบนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค

2.1 มลพิษทางอากาศ (Air pollution)

– การที่อุณหภูมิ ความชื้น กระแสลมเปลี่ยนแปลง ทำให้มลพิษเพิ่มขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น

– Ground-level ozone เพิ่มขึ้น จาก photochemical smog

– PM2.5 และก๊าซมลพิษเพิ่มขึ้น จากการที่มนุษย์อยู่ในบ้านนานขึ้น เปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟป่า หรือพายุฝุ่นในบางพื้นที่

– การสัมผัสมลพิษระยะสั้น (PM2.5, Ozone) กระตุ้นอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้จมูก โรคหืด

– การสัมผัสมลพิษระยะยาว (PM, black carbon, NO2) สัมพันธ์กับการเกิดโรคหืดในเด็ก และโรคหืดชนิดที่เริ่มเกิดในผู้ใหญ่ (adult-onset asthma)

2.2 เกสรพืชมีฤทธิ์ก่อภูมิแพ้แรงขึ้นในคนที่แพ้เกสรอยู่เดิม

– ภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ฝนตก กระแสลม พายุฝนฟ้าคะนอง มีผลต่อการปล่อยเกสร

– ผลิตเกสรเร็วขึ้นและผลิตได้นานขึ้น

– มลพิษเสริมฤทธิ์ความเป็นสารก่อภูมิแพ้

– การกระจายตัวของพืชไปไกลขึ้นหลายร้อยกิโลเมตร บางสปีชีส์ก็เกิดขึ้นในพื้นที่ใหม่และรบกวนระบบนิเวศเดิม ทำให้มนุษย์เจอสารก่อภูมิแพ้ใหม่เพิ่มจากที่เดิมไม่เคยเจอ

2.3 สปอร์เชื้อราเพิ่มจำนวนมากขึ้น

– เสี่ยงต่อการเกิดโรคหืดกำเริบรุนแรง

2.4 พายุฝนฟ้าคะนอง (thunderstorm-asthma)

– เวลามีผลฟ้าคะนองเกิดขึ้น เกสรพืช และสปอร์เชื้อรา จะมีปริมาณสูงขึ้นมาทันที เนื่องจากอนุภาคของสปอร์แตกตัว และมีลมพัดให้กระจายไปไกลขึ้น

2.5 ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง (biodiversity)

– ระบบภูมิคุ้มกันปรับตัวได้ลดลง สัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้

โดยสรุป climate change มีผลต่อเราทั้งแบบเฉียบพลัน (อาการกำเริบ) และผลระยะยาว (จากไม่เป็นก็กลายเป็นโรคภูมิแพ้)

การแก้ไขต้องแก้ที่สาเหตุ มนุษยชาติจะต้องร่วมมือกันเป็นปึกแผ่นให้ได้

#climatechangecrisis #nowornever #TAC #ThaiAsthmaCouncil #climatechange