News

Asthma Overview 2021 : Update asthma treatment in all perspectives

Asthma Overview 2021:Update asthma treatment in all perspectives Episode 1 Asthma Overview 2021:Update asthma treatment in all perspectives Episode 2 Asthma Overview 2021:Update asthma treatment in all perspectives Episode 3 Highlight Asthma Sessions from ERS2021:Roles of primary care in asthma and referral system Asthma Overview 2021:Update asthma treatment in all...

ไรฝุ่นตัวร้าย

ไรฝุ่นตัวร้าย สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้และโรคหืด "ไรฝุ่น" เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการ โรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้ และโรคหืดได้.เรียบเรียงโดย นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรีอาจารย์อายุรแพทย์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

การติดเชื้อไวรัส RSV และ RV กับโรคหืดนั้นสัมพันธ์อย่างไร

การติดเชื้อไวรัส RSV และ RV กับโรคหืดนั้นสัมพันธ์อย่างไร ในช่วงฤดูฝน เด็กๆป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจกันหลายคน บางคนหายใจมีเสียงหวีด ซึ่งการติดเชื้อไวรัสเช่น RSV หรือ Respiratory syncytial virus และ RV หรือ Rhinovirus ทำให้เด็กๆ หายใจมีเสียงหวีดได้ทั้งคู่ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้หายใจมีเสียงหวีดหรือเป็นโรคหืดในอนาคตมีหลายปัจจัย.สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ทั้งตัวเด็กเอง คนเลี้ยงและโรงเรียน.เรียบเรียงโดย นพ.อธิพัฒน์ อธิพงษ์อาภรณ์กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

การดูแลและรักษาภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน

การดูแลและรักษาภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันทุกรายต้องได้รับการประเมินความรุนแรง ให้การรักษาด้วยออกซิเจนเพื่อคงค่า O2 saturation ที่มากกว่า 95% พ่นยาขยายหลอดลมชนิด SABA แต่ถ้าประเมินแล้วอาการมีความรุนแรงปานกลางถึงมากพิจารณาให้ ipratropium bromide ร่วมด้วย ให้ systemic steroid ร่วมกับ high dose ICS.ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา พิจารณาให้ magnesium sulphate หลังการรักษาผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการติดตามและประเมินอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าสามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านให้ Oral steroid ส่วนยาพ่นสูดขยายหลอดลมแนะนำให้ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ นัดติดตามผลการรักษา 5-7 วันKey messageหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉินคือ #ประเมิน #รักษา และ #ติดตาม บทความโดย รศ.ดร.นพ.กัมพล กรธัชพงศ์ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

โรคหืดควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ?

โรคหืดควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ? 💉💉วัคซีนป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยโรคหืดเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเพราะการติดเชื้อทางเดินหายใจสามารถกระตุ้นโรคหืดให้กำเริบได้.โดยวัคซีนที่สำคัญคือ #วัคซีนไข้หวัดใหญ่ #วัคซีนโควิด19 และ #วัคซีนป้องกันปอดบวม (นิวโมคอคคัส).ข้อมูลโดย ผศ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์ สาขาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

รณรงค์เนื่องในวันโรคหืดโลก World Asthma day 2023

บทความรณรงค์เนื่องในวันโรคหืดโลก หรือ World Asthma day 2023 ในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ ซึ่ง theme ของการรณรงค์โรคหืดในปีนี้ก็คือ Asthma Care for All  โอกาสดีอย่างนี้ ทางสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ก็อยากจะนำเอาเรื่องราวดีๆ และเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหืด และผู้ที่มีปัญหากับอาการของโรคหืดในปัจจุบันทุกช่วงวัยมาเล่าสู่กันฟัง นั่นก็คือเรื่อง “Asthma wellness - อยู่สบาย ไกลโรคหืด” ปัจจุบันเรามีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคหืดและพบว่าการเกิดโรคและการปรากฏอาการของโรคนั้นมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ สารก่อภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ และมลพิษในอากาศ ไปจนถึงโรคอ้วน แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทกับการเป็นโรคหืดนั้นไม่ได้อยู่ไกลจากตัวเราเลย นั่นก็คือ เชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรานั่นเอง กลุ่มของเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรานั้นเรียกรวม ๆ กันว่าไมโครไบโอม (microbiome) ครับซึ่งตามปกติแล้วจะอาศัยอยู่บนผิวหนังและเยื่อบุผิวบริเวณต่าง ๆ ที่ร่างกายของเราต้องสัมผัสโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม เช่นผิวหนัง...

บุหรี่ไฟฟ้ากับผลกระทบต่อสุขภาพ

บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic cigarette; E-cigaratte)กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น โดยอุบัติการณ์การสูบบุรี่ไฟฟ้าในเยาวชนทั่วโลกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความหลากหลายของรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ กลิ่น รสซาติ กระตุ้นความอยากรู้ อยากลองอิทธิพลของเพื่อนและคนในครอบครัว ตลอดจนอิทธิพลของโฆษณา ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยสามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้ในที่ห้ามสูบบุหรี่ได้ รวมถึงความเชื่อที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนยาสูบชนิดดั้งเดิม ไม่เสพติดจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่า ประซากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,7 42 คน โดยร้อยละ 60 เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และยังพบการใช้ในกลุ่มอายุที่น้อยลงแม้กระทั่งในเด็กนักเรียน จากผลสำรวจภาวะสุขภาพนักรียนในไทย ปี 2564 โดยองค์การอนามัยโลก พบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้บุหรี่ไฟฟ้า 13.6% บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดสารพิษหลายชนิดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น นิโคตินที่เป็นสารทำให้เสพติด โดยนิโคตินสังเคราะห์ที่ใช้ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ระคายคอทำให้เสพได้มากและดูดซึมได้เร็วกว่าบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีสารนิโคตินเท่าบุหรี่ซอง 20 มวน, สารอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic...

โรคหืดและโควิด

ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดไตวายเรื้อรัง เป็นต้น เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังเพราะการป่วยเป็นโรคโควิดอาจมีความรุนแรงได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดซึ่งเป็นโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่งจึงอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคโควิด บทความนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยดังกล่าว 1.โรคหืดมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติหรือไม่ ผู้ป่วยโรคหืดที่คุมโรคได้ดี (well-controlled) ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการป่วยเป็นโควิดรุนแรงและไม่ทำให้เสียชีวิตจากโควิดเพิ่มขึ้นที่น่าสนใจคือในช่วงที่โควิดระบาดรุนแรงกลับพบผู้ป่วยโรคหืดกำเริบน้อยลง ซึ่งอาจเป็นเพราะประซากรสวนใหญ่ให้ความสำคัญในมาตรการต่างๆที่ชวยลดการแพร่เชื้อจึงทำให้การติดเชื้อทางเดินหายใจซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นโรคหืดกำเริบลดลงไปด้วย ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าการป่วยเป็นโควิดรุนแรงพบเฉพาะในผู้ป่วยโรคหืดที่คุมอาการได้ไม่ดีเท่านั้น ตัวอย่างผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่น ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้ยาสเตียรอยด์รูปแบบรับประทาน หรือผู้ป่วยที่มีประวัติหืดกำเริบรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล เป็นต้น 2.ยารักษาโรคหืดโดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นทำให้มีโอกาสติดเชื้อป่วยโควิดง่ายขึ้นหรือไม่ ยารักษาโรคหืดทุกชนิดรวมถึงยาหลักคือยาสเตียรยด์ชนิดสุดนไม่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโควิดง่ายขึ้นกว่าปกติแต่อย่างใด ในทางกลับกันมีข้อมูลว่ายาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นอาจมีประยซน์ในการรักษาโรคโควิดที่อาการไม่รุนแรงโดยอาจลดการนอนโรงพยาบาลหรือ การเสียชีวิตในภาพรวมได้ แต่หลักฐานดังกล่าวยังไม่ยืนยันชัดเจน 3.ผู้ป่วยโรคหืดที่ป่วยเป็นโรคโควิดมีวิธีการรักษาแตกต่างจากปกติหรือไม่ ไม่มีความแตกต่างในการรักษาที่มีอยู่แล้ว กรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่าควรได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคโควิดเช่นในผู้ป่วยโรคหืดที่ คุมอาการได้ไม่ค่อยดีแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ยาดังกล่าวไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถใช้ยรักษาโรคหืได้ตามเดิมโดยไม่ส่งผลรบกวนต่อการรักษาโควิด 4.รูปแบบของยาสูดพนเพิ่มการแพร่เชื้อก่อโรค โควิดหรือไม่ โรคโควิดแพร่เชื้อผ่านทางละอองฝอยซึ่งผ่านมาทางลมหายใจของผู้ป่วยทั้งจากการ ไอ จาม ดังนั้นรูปแบบการพ่นยาแบบละอองฝอย (nebulizer) เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิดจึงควรเลี่ยงการใช้ยาพ่นรูปแบบดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคหืดชนิดสูดพ่นอยู่ไม่ควรแบ่งปันให้ผู้อื่นใช้ เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อต่อกันได้ไม่ว่าจะมีอาการของโรคโควิดอยู่หรือไม่ก็ตาม 5.ผู้ป่วยโรคหืดมีโอกาสแพ้วัคซีนป้องกันโควิดมากขึ้นกว่าปกติหรือไม่ ผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่มีประวัติแพ้สารใดๆมาก่อนสามารถรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้ป่วยโรคหืดที่มีประวัติแพ้สารที่เป็นสวนประกอบของวัคซีนมาก่อน จะต้องแจ้งให้กับแพทย์ทราบเพื่อเลือกชนิดของวัคซีนให้เหมาะสมเพราะส่วนประกอบของวัคซีนแต่ละชนิดอาจมีความแตกต่างกันโดยสรุปแล้วจึงแนะนำว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด ผู้ป่วยโรคหืดต้องใช้ยารักษาโรคหืดต่อไปอย่างสม่ำเสมอเช่น เดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อน และจะต้องคุมโรคหืดให้ได้ดี (well-controlled) เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อ การป่วยเป็นโควิดรุนแรงได้...

ปฎิสัมพันธ์ของมลพิษทางอากาศและโรคติดเชื้อทางหายใจ

บทนำ (Introduction) มลพิษทางอากาศมีผลกระทบของต่อสุขภาพถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลกที่ได้รับความตระหนักในปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า มลพิษทางอกาศก็ให้เกิดผลกระทบอประชากรโลกในทุกด้าน โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ พบว่าผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชากรจากมลพิษทางอากาศในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกแตกต่างกันไปทั้งในแง่ลักษณะและความรุนแรง การติดเชื้อทางอากาศสงผลกระทบต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินหายใจที่พบมากขึ้น นอกจากนี้ผลกระทบในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มวัยก็มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กเล็กและผู้ป่วยสูงอายุ การติดเชื้อทางเดินหายใจพบได้มากในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอายุ ประชากรทั้งสองกลุ่มจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศทั้งรยะสั้นและระยะยาว สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเกิดจากไวรัสเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียพบได้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสียง เช่นโรคประจำตัว หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจเช่นผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง การพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง สรีรวิทยา ของทางเดินหายใจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจ บทความนี้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของมลพิษทางอากาศ ที่มาและชนิดทางอากาศ การจำแนกคุณภาพของอากาศ ฝุ่นมลพิษขนาดเล็ก หรือ particulate matter (PM) ทั้งขนาด 2.5 และ 10 ไมครอนผลกระทบของมลพิษต่อระบบการทำงานของร่างกาย ในประชากรทั้วไปรวมทั้งผู้ป่วยกลุ่เสี่ยง และผลของมลพิษทางอากาศต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจและผลกระทบต่ออายุขัยของประชากรโลกในภาพรวม บทความมลพิษทางอากาศต่อปัญหาสุขภาพและผลต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ㆍประวัติศาสตร์ของมลพิษทางอากาศㆍแหล่งกำเนิดและชนิดของมลพิษทางอากาศㆍฝุ่นมลพิษขนาดเล็ก particulate matter 2.5 และคุณภาพอากาศㆍ ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพㆍ ผลของมลพิษทางอากาศต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจ ประวัติศาสตร์ของมลพิษทางอากาศ (historical perspectives...

Allergen Specific Immunotherapy in Allergic Asthma

การรักษาด้วยวิธีวัคซีนภูมิแพ้ หรืออิมมูโนเทอราพี่ต่อสารกอภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก(Allergic Rhinitis) และโรคหืด(Asthma) แพ้ เป็นวิธีการรักษาที่มีมานานกว่า 1 10 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 และเป็นการรักษาเดียวที่ที่เปลี่ยนแปลงการดำเนินโรค เนื่องจากเป็นการรักษาที่ตันเหตุของรคที่ผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว โดยนิยามล่าสุดที่สมาคมโรคภูมิแพ้ยุโรปได้ให้ไว้คือ "การที่ให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำๆ ในชวงระยะความห่างที่เหมาะสม ที่ส่งผลให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพื่อลดอาการ ลดการใช้ยาและป้องกันการเกิดการแพ้ชนิดใหม่ๆ ในผู้ป่วยภูมิแพ้โพรงจมูก และโรคหืด" กลไกที่อธิบายการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการรักษามีดังนี้ (ตามรูปที่ 1 และ 2) 1) ส่งผลต่อเซลล์ mast cell และ Basophil ในการลดการหลั่งสารแพ้2) ลดการทำงานของ FceRI ในการกระตุ้นการหลั่งสารแพ้3) เพิ่มการสร้างของ Regulatory T cell , Regulatory B cell ในการหลั่งสาร Interleukin-10, TGF-beta ในการไปลดการทำงานของ T helper...