News

การป้องกันโรคหืด (Asthma Prevention)

😷😷 การป้องกันโรคหืด (Asthma Prevention) 💨🌫.บทความโดย นพ.อธิพัฒน์ อธิพงษ์อาภรณ์.ปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยโรคหืดประมาณ 2,000 ล้านคนทั่วโลก และอาจจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 400 ล้านคนก่อนปี 2025 ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก โดยโรคนี้จะเริ่มพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ ข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบันมีมากขึ้นเกี่ยวกับการป้องกันโรคหืด ซึ่งเป็นประโยชน์กับประชาชนทุกคน เพราะการป้องกันโรคทำให้เด็กที่มีความเสี่ยงมีโอกาสเป็นโรคลดลง และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรคหืด แบ่งปัจจัยเป็น 3 กลุ่มดังนี้. ปัจจัยจากมารดาช่วงตั้งครรภ์ มีข้อมูลเกี่ยวกับมารดาที่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็น PM 2.5 ชนิดหนึ่งที่พบได้ในบ้าน จะทำให้ทารกที่ตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืด และทำให้สมรรถภาพปอดของทารกลดลง และการสัมผัสมลภาวะทางอากาศของมารดาที่ตั้งครรภ์ทำให้ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ และเพิ่มโอกาสที่ทารกคลอดออกมาเป็นโรคหืด 30% การเสริมวิตามินดี ในมารดาที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (เป็นโรคหืด เยื่อบุจมูกอักเสบ ผื่นแพ้ผิวหนัง) พบว่าการเสริมวิตามินดี ไม่ว่าจะเป็นโดสสูง (4,400 IU/วัน) หรือโดสต่ำ (400 IU/วัน) สามารถลดการเกิดการหายใจมีเสียงหวีดในช่วงเด็กก่อนวัยเรียนได้ การเสริม Fish oil...

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหืด ในระดับประชาชนและนโยบาย

ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร1.1 แนะนำให้ผู้ป่วยหาข้อมูลทางอินเตอร์เนต หรือแอปพลิเคชั่น เช่น จากhttp://air4thai.pcd.go.th/webv2/index.php หรือทางอื่น หากพบว่ามีมลพิษทางอากาศของก๊ซโอโซน หรือมลพิษชนิดฝุ่น PM2.5 ปริมาณสูงเกณฑ์ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกไปภายนอก1.2 หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือการออกกำลังกาย เมื่อมีปริมาณมลพิษทางอากาศเกินปริมาณอันตรายตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2 อาจพิจารณาการออกกำลังกายภายในอาคารแทน1.3 หากจำเป็นต้องออกภายนอกอาคาร ควรใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีสวมใส่หน้ากาก N95 อย่างถูกต้องร่วมด้วย การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศภายในอาคาร2.1 ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร มีข้อมูลว่ามลพิษทางอากาศชนิดฝุ่น PM2.5 สามารถทะลุผ่านจากนอกอาคารเข้ามาในอาคารได้มากถึงร้อยละ 75 (21)2.2 หลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามา2.3 หากอาคารที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ไม่ได้มีระบบฟอกอากาศในอาคารขนาดใหญ่ (Whole-house filtration) ที่มี มาตรฐาน คือ ค่า...

แนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดในภาวะมลพิษและโลกร้อน

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ การรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น โรคหืต และโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ต่อเนื่องด้วยยา1.1 การใช้ยารักษาโรจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคหืด ควรใช้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเพื่อคุมอาการป้องกันโรคกำเริบ เช่น ยาสูดพ่นสเตียรอยด์ ยาพ่นจมูกสเตียรอยด์ โดยเฉพาะในช่วงที่มีมลพิษทางอากาศปริมาณสูง1.2 ในช่วงมลพิษทางอากาศปริมาณสูงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคหีดกำเริบได้ง่ย หากผู้ป่วยโรคหืดมีอาการกำเริบ พ่นยาชนิดฉุกเฉินแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล รวมถึงโรคจมูกอักสบจากภูมิแพ้อาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นโพรงไซนัสอักเสบติดเชื้อได้1.3 การรักษาป้องกันเสริมอื่น ๆ ด้วยยาหรือสารในอาหาร -ยาต้นการอักเสบ เช่น ยาสูดพ่นชนิดคอติโคเสตียรอยด์ลดการอักเสบของหลอดลมได้ ย1 Selective CXCR2 antagonistสามารถลดการอักเสบของหลอดลมชนิดนิวโทรฟิลได้(15) -สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอลฟ้าโตโคฟีรอล (c-tocopherol) และวิตามินซี มีหลักฐานว่าสามารถป้องกันการลดลงของสมรรถภาพปอดจากกำซโอโซนได้ สารซัลโฟราเฟน( Sulforafane) ที่พบในผักบร็อคโคลื่ มีข้อมูลว่าลดอาการอักเสบได้ และลดการผลิต IgE ได้(15) ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนเองแพ้อย่างจริงจัง เพราะมลพิษทางอากาศจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแฟที่มากยิ่งขึ้น แม้จะสูดดมสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณเท่าเดิม หากผู้ป่วยยังไม่ทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด สมารถตรจหาสารก่อภูมิแพ้ใต้ด้วยวิธี ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง(Skin prick test) หรือการเจาะเลือดส่งตรวจ specific...

PM 2.5 ค่าเท่าไร ถึงจะถือว่าปลอดภัย

PM2.5 ค่าเท่าไร ถึงจะถือว่าปลอดภัย💨🌫  บทความจาก ผศ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์ อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าเกณฑ์ระดับฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยนใน 1 วัน ไม่ควรเกิน 37 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งแตกต่างจากเกณฑ์ของอเมริกาซึ่งกำหนดค่าฝุ่น PM2.5 ไว้ที่ไม่ควรเกิน 12 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จึงเกิดคำถามว่าปอดของคนไทยเรากับปอดของประชากรโลกมีความทนทานต่อฝุ่นแตกต่างกันอย่างนั้นหรือ งานวิจัยน่าสนใจชิ้นหนึ่งจากทีมวิจัยอาจารย์หฤทัยจาก รพ.รามาฯ ที่ได้นำเสนอในสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย (TAC) พบว่าการใช้เกณฑ์ PM2.5 ที่ 12 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร  ช่วยทำนายว่าผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหืดจะมีการกำเริบเฉียบพลันภายในช่วง 3 วัน ซึ่ง มีความไวกว่าเกณฑ์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นความรู้ที่ทำให้นักวิชาการหลายท่านเริ่มตื่นตัวและผลักดันให้มีมาตรการลดฝุ่น PM2.5 ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้นในอนาคต "เพราะปอดของเด็กไทยก็ไม่ต่างจากปอดของประชากรโลกที่ต้องรักษาเอาไว้ให้ดีครับ" PM2.5-ค่าเท่าไร-ถึงจะถือว่าปลอดภัย-ผศ.นพ.มงคล-สDownload

ภูมิแพ้กำเริบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง (CLIMATE CHANGE)

ภูมิแพ้กำเริบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง (CLIMATE CHANGE) บทความจาก ผศ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19  + อากาศโลกแปรปรวน + มลพิษ PM2.5 ก็มา ทุกท่านคงสังเกตอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการไอ-จามช่วงนี้ยิ่งทำให้ความเครียด ดังนั้นการคุมภูมิแพ้ให้อยู่หมัดและมีความรู้ความเข้าใจกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองจะช่วยได้ครับ บทความนี้จึงเล่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทุกท่านเข้าใจ --------------------------- 1. ผลโดยตรง - อากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ทำให้โรคหืดกำเริบ เพราะ ทางเดินหายใจมีความไวมากขึ้น - งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหืดมีการกำเริบและป่วยนอน รพ. สูงขึ้นหลังเกิดอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว --------------------------- 2. ผลทางอ้อม - ภูมิอากาศเปลี่ยนทำให้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยแย่ลง เช่น มลพิษทางอากาศ เกสรหญ้าเพิ่มจำนวน สปอร์เชื้อราเพิ่มจำนวน ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ซึ่งผลกระทบนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค 2.1 มลพิษทางอากาศ (Air pollution) - การที่อุณหภูมิ ความชื้น กระแสลมเปลี่ยนแปลง ทำให้มลพิษเพิ่มขึ้นจากหลายสาเหตุ...

CLIMATE CHANGE IN ASTHMA CARE

Climatechangeคืออะไร .....ปัญหาและความสำคัญของ Climatechange บทความโดย ศ.ดร.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล   นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย Climate change เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่มีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และลม ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะ เป็นผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของสภาพอากาศของโลก ความยั่งยืนของระบบนิเวศของโลกถูกคุกคาม เช่นเดียวกับอนาคตของมนุษยชาติและความมั่นคงของเศรษฐกิจโลก ซึ่งการเกิด climate change ทำให้เกิดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงขึ้น น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุรุนแรง และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ไทยตกอยู่ในความเสี่ยงและกรุงเทพฯ จะจมลงภายใน 20 ปี เกิดความเสียหายต่อการเกษตร การท่องเที่ยวชายฝั่ง และเมืองหลวงอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเกิดมลพิษที่มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ และโรคหืด                 ประเทศไทยมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีบ่งชี้เพิ่มขึ้น 1°C ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494  เป็นผลจากภาวะโลกร้อนทำให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด ที่สำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน...

เคล็ดลับในการพิชิดโรคหืด

สิ่งกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบมีหลายอย่างได้แก่ การเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ การได้รับสารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อบางชนิด การออกกำลังกาย วันนี้เราจะมาเรียนรู้การพิชิตโรคหืดโดยการหลีกเลี่ยง/รักษา ปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญได้แก่โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ผู้ป่วยโรคหืดในปัจจุบันเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้มากกว่าร้อยละ 60-70 และมีอาการแพ้ไรฝุ่น ขนสัตว์ สิ่งกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ ละอองเกสรดอกไม้ หญ้า และเชื้อรา วิธีพิชิต พยายามรักษาอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยใช้ยาพ่นจมูก กินยาอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวที่มีอาการกำเริบได้งาย นอกจากนี้ควรให้ลูกมีโอกาสได้รับสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุด เช่น ถ้าคิดว่าเขาน่าจะแพ้ขนแมวที่เคยเลี้ยงไว้ในบ้าน ก็ต้องถอดพรมออกไป ทำความสะอาดพื้น ทำความสะอาดผนังห้องและทาสีใหม่ ทำความสะอาดท่อแอร์ และเปลี่ยนแผ่นกรองของเครื่องฟอกอากาศบ่อยๆ ไม่ควรให้ลูกเล่นตุ๊กตาที่มีขน แต่ถ้าอาการแพ้ของลูกไม่อาจควบคุมได้ด้วยการกำจัดสารก่อภูมิแพ้ ก็คงต้องใช้วิธีฉีดวัคซีนภูมิแพ้การออกกำลังกายการวิ่งหรือออกกำลังกายบางชนิด อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหืดกำเริบ โดยเฉพาะในเด็กได้กว่าร้อยละ 80  เพราะการออกแรงมากๆ ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้น ซึ่งมักจะเป็นการหายใจทางปาก ทำให้อากาศที่เย็นกว่าปกติพรวดเข้าปอดเป็นจำนวนมาก (ตามปกติจมูกจะทำให้อากาศอุ่นและชื้นขึ้น) วิธีพิชิต พ่นยาหรือกินขยายหลอดลมก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 15-30 นาที ถึงอย่างไรเด็กๆ ที่มีอาการหอบหืดจากการออกกำลังกายก็ยังจะต้องออกกำลังกายอยู่ดี เพราะผลวิจัยชี้ชัดว่าเด็กที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการมากกว่าถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักเกินไปและควรปรับตัวด้วยการทำร่างกายให้อบอุ่นก่อนออกกำลังกายการติดเชื้อโรคส่วนใหญ่ที่กระตุ้นให้เกิดอาการในเด็กคือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยที่สุดคือไข้หวัด รองลงไปคือไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) วิธีพิชิต พาลูกไปฉีดวัคซีน...

ป้องกันโรคหืดในลูกน้อยอย่างไรดี

ปัจจุบันโรคภูมิแพ้นั้นพบว่า มีอุบัติการณ์เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ  รวมถึงโรคหืด พ่อแม่ หลายคนอาจจะเกิดคำถามในใจว่า หากไม่ต้องการให้ลูกน้อยของตนที่เกิดมาต้องมาเป็นโรคหืดนั้นจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักๆ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของลูกน้อยสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ หรือถ้าเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้แล้ว ก็เพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคหืดในอนาคต ซึ่งการป้องกันดังกล่าวควรเริ่มต้นปฏิบัติตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เลยดีที่สุด อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พันธุกรรมมีบทบาทต่อการเกิดโรคหืดค่อนข้างมาก พ่อหรือแม่ที่มีประวัติเป็นโรคหืดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืดในลูกอย่างมากเช่นกัน ซึ่งปัจจัยในแง่ของพันธุกรรมนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนวิธีการป้องกันอื่นๆ ที่พบว่าช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหืดได้มีเพียง 2 วิธีหลักๆ เท่านั้น คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ ในมารดาตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งครรภ์ จนถึงหลังคลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย จนถึงอายุ 4-6 เดือนหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมอื่นๆ ในช่วงอายุ 4-6 เดือนแรกหลังคลอดวิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ยังไม่พบหลักฐานข้อมูลชัดเจนว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคหืดได้ เช่น การแนะนำให้มารดาขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ เช่น นมวัว ไข่ หรือถั่วลิสง เป็นต้น ในทางกลับกันกลับพบว่า นอกจากไม่ช่วยป้องกันแล้วอาจทำมารดาขาดสารอาหารโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่การให้มารดาขณะตั้งครรภ์หรือทารกหลังคลอดกินจุลินทรีย์เชื้อเป็น (Probiotics) เพื่อไปเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้นก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าช่วยป้องกันการเกิดโรคหืดได้ในกรณีที่พ่อแม่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น เป็นโรคหืดอยู่แล้ว และแม่ไม่สามารถให้นมบุตรได้ หรือน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ อาจพิจารณาใช้นมผสมสูตรพิเศษชนิดที่แพ้น้อย (Hypoallergenic formula)...

การให้ความรู้ทั่วไปแก่ผู้ป่วยโรคหืด

โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ของร่างกายต่อสารก่อโรค โรคหืดพบได้ประมาณร้อยละ 7 ของประชากรในประเทศไทย ผู้ป่วยจะมีประวัติอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ หายใจเสียงหวีด หอบเหนื่อย แน่นหน้าอกและอาการไอ อาการจะแย่ลงช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้า โดยอาการผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงได้หลายรูปแบบ ในด้านเวลาการดำเนินโรคและระดับความรุนแรง ร่วมกับการตรวจพบการแปรปรวนของการอุดกั้นหลอดลมในช่วงขาออก และอาการอาจกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำๆได้ โดยปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดการกำเริบของโรคได้แก่สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ สัตว์เลี้ยง(สุนัข แมว) เกสรหญ้า สารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น น้ำหอม กลิ่น สี น้ำยาหรือสารเคมี ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจส่วนบน การหัวเราะ และอารมณ์เครียด เป็นต้น โรคหืดมีลักษณะหลอดลมไวเกินต่อสารภูมิแพ้ หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ทำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมอย่างต่อเนื่องแม้ผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาจมีผลตรวจสมรรถภาพปอดที่ปกติได้ และสามารถกลับมาควบคุมอาการให้ปกติได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสม อาการของโรคหืดและการอุดกั้นของหลอดลมอาจหายเองได้หรือหายภายหลังให้ยารักษา และไม่มีอาการอีกเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ผู้ป่วยบางรายมีอาการหืดกำเริบเฉิยบพลันรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้และมีผลกระทบต่อผู้ป่วยและสังคมการวินิจฉัยโรคหืด ประกอบด้วย 1. อาการที่เข้าได้กับโรคหืด 2. การตรวจสมรรถภาพปอดพบการแปรปรวนของการอุดกั้นหลอดลมในช่วงขาออก (variable...